ประเภท



ประเภทของหลักสูตร
          ประเภทของหลักสูตรหรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า รูปแบบของหลักสูตรในปัจจุบันมีผู้กำหนดประเภทของหลักสูตรออกเป็นหลายประเภท แล้วแต่แนวคิดของแต่ละคน ซึ่งมีความหมายที่ตรงกันคือ เพื่อให้ประสบการณ์กับผู้เรียน แต่การกำหนอประเภทของหลักสูตรว่าเป็นประเภทใกนั้นขึ้นอยู่กับการตอยสนองผลสัมฤทธิ์ทางการจัดการเรียนการสอน และสถานการณ์ต่างๆที่เหมาะสม การที่จะเลือกใช้หลักสูตรผระเภทใดขึ้นอยู่กับสถานการณ์และจุดหมายปลายทางของการจัดการศึกษาในแต่ละประเภทและระดับการศึกษาเป็นสำคัญ ซึ่งประเภทของหลักสูตรอาจแบ่งได้คือ
1.     ประเภทที่ยึดเอาสาขาวิชาและเนื้อหาวิชาเป็นหลัก
หลักสูตรนี้ทั้งครูผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาจะเคยชินกับหลักสูตรประเภทนี้เป็นอย่างมาก คือเมื่อมีการจัดทำหลักสูตรแล้วจะพิจารณาหลักสูตรประเภทนี้ก่อนประเภทอื่น หลักสูตรประเภทนี้เป็นหลักสูตรที่เหมาะสมสำหรับการจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับอุดมศึกษามากกว่าในระดับอื่น เนื่องมีการจัดการเรียนการสอนด้วยการบรรยายและใช้ระบบแบบเรียนหรือตำราเรียนเป็นหลัก ซึ่งสามารถแยกได้เป็น
1.1 หลักสูตรแยกรายวิชาหรือเนื้หาวิชา จะแบ่งแยกรายวิชาออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้เห็นรายวิชาและเนื้อหสาระเฉพาะอย่างจะเป็นหลักสูตรที่ผู้เรียนได้รับความรู้เพียงอย่างเดียว และความรู้นัน้เกิดจากการท่องจำเป็นสำคัญ ผู้เรียนจะนำไปวิเคราะห์หรือนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อยเพาะไม่มีเวลาที่จะฝึกฝนทางด้านอื่นๆนอกจากการท่องจำ ซึ่งหลักสูตรประเภทนี้ได้ใช้เป็นเวลานานและบางแห่งก็ยังใช้อยู่
1.2 หลักสูตรสหพันธ์หรือหลักสูตรสัมพันธ์วิชา เป็นหลักสูตรที่พัฒนาจากหลักสูตรแยกรายวิชาด้วยการรวมเอาส่วนที่เหมือนกันทั้งในด้านลักษณะของวิชา คุณค่าและความสำคัญของวิชา และในส่วนที่มีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องมาไว้ด้วยกัน
1.3 หลักสูตรหลอมรวมวิชา เป็นหลักสูตรที่นำเอาวิชาที่มีความใกล้คัยงกันมาหลอมรวมกันแล้วจัดขึ้นเป็นรายวิชาใหม่ เช่น นะวิชาสัตว์ศาสตร์ กับวิชาพืชศาสตร์ เข้าหลอมรวมด้วยกันกลายเป็ยวิชาชีววิทยา เป็นต้นซึ่งหลักสูตรการหลอมรวมวิชาจะมีความคล่องตัวและความยืดหยุ่นูง ผู้เรียนได้มีโอกาสได้เรียนรู้พื้นฐานความรู้ต่างๆ ที่เหมาะสมและตามความต้องการของผู้เรียน
1.4 หลักสูตรแกนวิชา เป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อการรวบรวมเนื้หาความรู้และประสบการณ์ให้มีความสัมพันธ์และผสมผสานกันแต่มีวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นวิชาหลักหรือวิชาแกน ซึ่งวิชาหลักนั้นเป้นวิชาที่ผู้เรียนมีความจำเป็นที่จะต้องรู้เพื่อการเรียนรู้พื้นฐานวิชาต่างๆอันเป็นประโยชน์ต่อชีวิตของตนเอง
2. หลักสูตรที่ยึดเอาผู้เรียนเป็นหลัก
หลักสูตรชนิดนี้เป็นหลักสูตรที่ได้ยึดถือมานาน ซึ่งจัดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียน จึงต้องยึดถือเอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและอาศัยประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นส่วนใหญ่ ในการกำหนดหลักสูตรการอาศัยประสบการณ์ของผู้เรียนได้นำมาใช้กับการจัดหลักสูตรสถานศึกษาซึ่งรายละเอียดแบ่งออกเป็น
2.1 หลักสูตรที่ใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นหลักสูตรที่ว่าด้วยหลักการที่ว่า มนุษย์ทุกคนจะมีความแตกต่างกันไป ดังนั้นในการจัดทำหลักสูตรจึงกำหนดให้คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งในหนึ่งวิชาอาจจะมีหลักสูตรที่แตกต่างกันอกไปทั้งในด้านเนื้อหาและกิจกรรมการเรียน คือหลักสูตรต้องมีการกำหนดให้เลือกได้และเหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน ซึ่งในหลักสูตรจะมีการจัดเนื้อหา การจัดกิจกรรม หรือสื่อการเรียนการสอนท่หลายชนิด รวมทั้งจัดครูผู้สอนที่หลายรูปแบบด้วย
2.2 หลักสูตรประสบการณ์ ใช้กันมากในการจัดหลักสูตรระดับประถมศึกษา หลักสูตรประเภทนี้อยู่บนพื้นฐานที่ประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับมา ซึ่งเป็นบ่อเกิดของการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนได้ การจัดการหลักสูตรจึงเป็นการจัดเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน และให้ผู้เรียนรู้จักการแก้ปัญหา
2.3 หลักสูตรบูรณาการ เป็นหลักสูตรที่นักพัฒนา ได้นำมาใช้ในหลักสูตรประถมศึกษา ด้วยการมุ่งหวังว่า ประสบการณ์ที่จัดไว้ในหลักสูตร เป็นการทำให้ผู้เรียนได้นำไปใช้ในการดำรงชีวิตการจัดประมวลประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่เห็นสมควรให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และสร้างเสริมประสบการณ์ให้มากยิ่งขึ้น
3. หลักสูตรที่ยึดเอากระบวนการทางทักษะเป็นหลัก
หลักสูตรประเภทนี้จะมุ่งเน้นในการพัฒนาทักษะของกระบวนการเรียน ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาความรู้ของผู้เรียนอย่างมีระบบ เช่น การจัดหลักสูตรทักษะทางคณิตศาสตร์ และหลักสูตรทักษะทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งยึดการฝึกทักษะให้กับผู้เรียน ด้วยการให้ผู้เรียนได้คิดค้นคว้าความรู้ และฝึกปฏิบัติจนเกิดเป็นทักษะ การกำหนดหลักการและความรู้ให้กับผู้เรียนจะเป็นเพียงการเสนอแนวทางเท่านั้น ส่วนผลการปฏิบัติและการฝึกฝนจะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และค้นพบสิ่งใหม่ๆเอง ดังนั้น หลักสูตรกระบวนการทางทักษะจึงเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนที่มีทักษะในการเรียนและสามารถควบคุมตนเองได้