บทที่ 4 ผลการวิจัย








หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านหน้าวัดโพธิ์
ประวัติความเป็นมาและข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน

1.  ที่ตั้งสถานศึกษา
โรงเรียนบ้านหน้าวัดโพธิ์    ตั้งอยู่หมู่ที่  2  ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง  จังหวัดสงขลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ
ผู้บริหารสถานศึกษา   นายพยูร    แก้วอาภรณ์

2.  ลักษณะโรงเรียน
     เป็นโรงเรียนที่เปิดสอน  3  ระดับ  คือ  ระดับก่อนประถมศึกษา  
                ประถมศึกษา  และมัธยมศึกษา  
     เป็นโรงเรียนความพร้อมในการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น       พื้นฐาน พุทธศักราช 2551
     เป็นโรงเรียนได้รับรางวัลสถานศึกษาพอเพียง
     โรงเรียนในโครงการประสานความมั่นคง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
     เป็นโรงเรียนโครงการโรงเรียนสีขาว
     เป็นโรงเรียนในโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน
     เป็นโรงเรียนแกนนำการจัดการความรู้

ปรัชญา วิสัยทัศน์ และจุดมุ่งหมายของโรงเรียน

ปรัชญา วิชาการนำ  กิจกรรมเด่น  เน้นวินัย ใฝ่คุณธรรม
วิสัยทัศน์
            ผู้เรียนสมดุลด้านร่างกาย  จิตใจ  ใฝ่รู้คู่คุณธรรม  ยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตย  อันมีพระมหากษัตริย์ทางเป็นประมุข  นำความสุขสู่ตนเอง  สังคม   ประเทศชาติและรู้รักษ์วัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม  เพียบพร้อมจิตสาธารณะ
พันธกิจ
๑.     บริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  เน้นการมีส่วนร่วมในการร่วมคิด  ร่วมปฏิบัติ  และพัฒนาของบุคลากรทุกฝ่าย
๒.    จัดทำหลักสูตรให้เหมาะกับผู้เรียน  รักษ์ความเป็นไทย  และสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
๓.    จัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้
๔.    ระดมสรรพกำลังทั้งภาครัฐและเอกชน  เพื่อสนับสนุนงบประมาณ  ทรัพยากร  ในการบริหารจัดการ  พัฒนาสื่อ  และเทคโนโลยีที่ทันสมัย
๕.    จัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  เชิงบูรณาการ  ผสมผสานทักษะชีวิต
๖.     จัดกิจกรรมพัฒนาผู้บริหารและบุคลากร  เพื่อพัฒนาไปสู่ระดับมืออาชีพ
๗.    จัดระบบประกันคุณภาพการศึกษา
เป้าประสงค์
๑.     ผู้เรียนทุกคนทั้งปกติ  พิการและด้อยโอกาส  ได้รับโอกาสในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ๑๒  ปี  อย่างเท่าเทียมกัน
๒.    ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
๓.    ผู้เรียนทุกคนมีความรักในท้องถิ่นของตนเอง
๔.    ผู้เรียนทุกคนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๕.    โรงเรียนมีความเข้มแข็งในการบริหารและการจัดการศึกษา
หลักการ
                                                                                                                           หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านหน้าวัดโพธิ์ มีหลักการที่สำคัญดังนี้
              .  เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
           .  เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ
.  เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัด           การเรียนรู้
.  เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
.  เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย  ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย  สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์  
จุดมุ่งหมาย
         หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านหน้าวัดโพธิ์ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี  มีปัญญา มีความสุข   มีศักยภาพในการศึกษาต่อ  และประกอบอาชีพ   จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน  เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน   ดังนี้

.  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง   มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ  ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา   การใช้เทคโนโลยี  และมีทักษะชีวิต
.  มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
.  มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก  ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ           การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
.  มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย   การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม  มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข   
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
               ในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านหน้าวัดโพธิ์ มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด  ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ดังนี้
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านหน้าวัดโพธิ์ มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ ๕ ประการ ดังนี้
                . ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร  มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
                . ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ              ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น        ต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
                . ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต   เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ใน
การดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้
การสื่อสาร การทำงาน  การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านหน้าวัดโพธิ์ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข  ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก   ดังนี้
.  รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์
.  ซื่อสัตย์สุจริต
.  มีวินัย
. ใฝ่เรียนรู้
. อยู่อย่างพอเพียง
.  มุ่งมั่นในการทำงาน
.  รักความเป็นไทย
.  มีจิตสาธารณะ

บริบท/ลักษณะของชุมชนหรือท้องถิ่นที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียนที่มีส่วนพัฒนาหลักสูตร
          โรงเรียนบ้านหน้าวัดโพธิ์เป็นกึ่งเมืองกึ่งชนบทชาวบ้านที่นี่มีอาชีพกรีดยางพาราช่วงนี้เศรษฐกิจดี สิ่งที่เกิดขึ้นกับชุมชนในช่วงนี้ คือตามใจลูกซื้อรถจักรยานยนต์ให้ลูก อีกทั้งยังซื้อโทรศัพท์มือถือให้ลูกนำมาโรงเรียน และยังมีพฤติกรรมที่ทำให้สังคมแย่ลง เนื่องจากมีค่านิยมแบบใหม่มารุกรานสังคมแบบเก่า ทำให้บริบทของนักเรียนเปลี่ยนไป 
           สภาพของชุมชนที่นี่มีนักเรียนประมาณกว่า
30% เด็กส่วนใหญ่เป็นคนย้ายถิ่นฐานมาจากที่อื่นส่วนใหญ่พ่อแม่จะมีอาชีพรับจ้างกรีดยางเพราะฉะนั้นเด็กที่มาเรียนที่นี่ส่วนใหญ่เป็นเด็กอีสานและเด็กพม่า  บริบทของโรงเรียนที่นี่ เด็กที่เรียนเก่งส่วนใหญ่จะเข้าไปเรียนในเมืองส่วนที่เหลือจะเป็นเด็กที่เรียนไม่ค่อยเก่ง เพราะฉะนั้นครูที่นี่จึงค่อนข้างรับภาระหนัก ซึ่งตอนนี้โรงเรียนบ้านหน้าวัดโพธิ์ก็เริ่มขยายโอกาสรับเด็กที่ถูกไล่ออกมาจากโรงเรียนอื่นนำมาขัดเกลาใหม่ ครูที่นี่จึงค่อนข้างเหนื่อยมากเป็นพิเศษ เพราะฉะนั้นโรงเรียนบ้านหน้าวัดโพธิ์จะมีเด็กเก่งเหลืออยู่ประมาณ 20% ที่เหลือก็เป็นเด็กค่อนข้างอ่อนเยอะ

กระบวนการพัฒนาหลักสูตร จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สู่หลักสูตรสถานศึกษา

            ทางโรงเรียนได้ไปอบรบปรับปรุงรูปแบบที่เขตพื้นที่การศึกษาจัดขึ้นและโรงเรียนบ้านหน้าวัดโพธิ์ได้เป็นโรงเรียนที่ได้รับความพร้อมด้านการใช้หลักสูตรเป็นโรงเรียนแกนนำ มีการเตรียมงานด้านการใช้หลักสูตร และมาร่วมมือกันในโรงเรียนเป็นกลุ่มสาระที่จัดทำหลักสูตร โดยมาทำหลักสูตรสถานศึกษาก่อนโดยวางโครงสร้างการทำงานทุกกลุ่มสาระมาเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการสถานศึกษา วิเคราะห์ บริบท ทุกอย่างออกมาเป็นตัววิสัยทัศน์ จากนั้นก็มาเป็นหลักสูตร แต่ละสาระก็จะมีหัวหน้าสาระรับผิดชอบกับทีมงานหลักสูตรทั้งระบบนี้ก็แล้วเสร็จตั้งแต่ปี2551  เริ่มใช้หลักสูตรตั้งแต่ปี 2550 โรงเรียนบ้านหน้าวัดโพธิ์เป็นโรงเรียนนำร่อง และตอนนี้ ปี2553นี้โรงเรียนบ้านหน้าวัดโพธิ์ชั้นมัธยมศึกษาจะใช้หลักสูตรเก่า
ในหลักสูตรตัวนี้โรงเรียนบ้านหน้าวัดโพธิ์ได้ร่วมมือกันทั้งโรงเรียน เพราะว่าหลักสูตรนี้ต้องนำไปเสนอหลายครั้งแล้วทางเขตพื้นที่ 1 จะให้ไปนำเสนอให้โรงเรียนทั่วไปได้ดูด้วยโรงเรียนบ้านหน้าวัดโพธิ์จะเป็นแบบอย่างของการกำหนด หน่วยการเรียนรู้ที่มีลักษณะของการบูรณาการว่าหนึ่งหน่วยนี้โรงเรียนสามารถสอนได้ในหลายๆวิชา โดยเฉพาะหน่วยภาษาไทยสามารถนำไปใช้ตั้งเป็นชื่อหน่วยบูรณาการได้หมดเลย โดยบูรณาการภายในสาระของตนเองในขณะเดียวกันโรงเรียนสามารถที่จะบูรณาการร่วมกับสาระอื่น โรงเรียนจะมีหน่วยสาระที่นำมาทำร่วมกันว่าอันไหนที่สามารถทำร่วมกันได้แต่ละสาระที่เข้ากันไม่ได้ก็ต้องแยกออกไปที่ทำร่วมกันได้ก็นำมาบูรณาการร่วมกัน

       หลักสูตรของแต่ละโรงเรียนไม่เหมือนกันแต่ตรงไหนที่เขาเห็นแนวทางของโรงเรียนบ้านหน้าวัดโพธิ์ เมื่อปี 2542 ได้เป็นโรงเรียนแกนนำ โรงเรียนบ้านหน้าวัดโพธิ์มีโอกาสได้รับข้อมูลสิ่งใหม่ๆมาก่อนโรเรียนอื่น เพราะฉะนั้นโรงเรียนบ้านหน้าวัดโพธิ์จะเป็นโรงเรียนนำร่อง โรงเรียนเครือข่ายและเป็นแบบอย่างให้แก่โรงเรียนอื่น
รายวิชาเพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่โรงเรียนจัดให้แก่ผู้เรียน และจุดเน้นของสถานศึกษาที่จัดรายวิชาเพิ่มเติม

ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 มีการเพิ่มเติมโดยเน้นการอ่าน เขียน ในรายวิชา คณิตศาสตร์ส่วนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จะมีการเพิ่มทักษะในรายวิชาภาษาอังกฤษ เพราะเมื่อประเมินแล้วในรายวิชานี้นักเรียนจะมีผลการเรียนสัมฤทธิ์ต่ำ และในชั้นมัธยมจะมีการเพิ่มเติมหลายวิชา เช่นการคิดวิเคราะห์ วรรณกรรมเพลง และจะมีการเน้นในเรื่องการศึกษาเกี่ยวกับท้องถิ่นของโรงเรียนพร้อมทั้งยังเพิ่มวิชาเป็นการพัฒนาผู้เรียนโดยจะจัดกิจกรรมเป็นบ้านทักษะชีวิต
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
วิสัยทัศน์กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน                                                                                                                                     กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ควบคู่คุณธรรม มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เห็นคุณค่าของชีวิต รู้จักและเข้าใจตนเอง สร้างจิตสำนึกภายใต้วิถีทางความเป็นไทยปรับตัวและปฏิบัติตนให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ประเทศชาติและดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุ
คุณภาพผู้เรียน
จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
           ผู้เรียนรู้จักตนเองทั้งในด้านความรู้ ความสามารถ ความถนัดและนิสัยการเรียนของตน  มีความสามารถในการเข้าใจตนเอง ยอมรับตนเองและพร้อมที่จะพัฒนาตนเองไปสู่ศักยภาพสูงสุด  มีนิสัยรักการทำงาน และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีความรู้ความเข้าใจต่อการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรวมทั้งสามารถปรับตนให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข มีทักษะทางสังคม สามารถติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี  ใฝ่รู้ใฝ่เรียนและเกิดทักษะทางการเรียนอันจะเป็นเครื่องมือในการแสดงความรู้ในโอกาสต่อไปและมีพื้นฐานทางจิตใจที่ดี มีศีลธรรม คุณธรรมและปฏิบัติตามแบบอย่างของวัฒนธรรมไทยเพื่อดำรงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้เรียนรู้จักตนเองทั้งในด้านความรู้  ความสามารถ  ความถนัดและนิสัยของตนเรียน
รู้ลักษณะนิสัยของตนเองและของเพื่อนๆ เพื่อวิเคราะห์ลักษณะนิสัยของตนเองที่เพื่อนๆและตนเองมองเห็นทั้งในส่วนที่เหมือนกันและต่างกัน  ตระหนักถึงคุณค่าของตนเองและคนที่มีความรู้สึกด้อยคุณค่าในตนเอง  เรียนรู้วิธีที่หลีกเลี่ยงการกล่าวโทษตนเองว่าด้อยค่า เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์  สามารถจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ  ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตประจำวันได้อย่างสร้างสรรค์   ผู้เรียนพัฒนาตนเต็มตามศักยภาพ ทำให้เป็นคน เก่ง ดี มีสุข สามารถปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ มีข้อมูลในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อและประกอบอาชีพที่สุจริตตามความสนใจและความถนัด  ผู้เรียนค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตน เสริมสร้างทักษะชีวิต  การศึกษาต่อ การพัฒนาตนเองเพื่อเป็นศาสนทายาทที่ดีและพัฒนาตนเองสู่สังคม  ดำรงชีวิตที่มีคุณธรรมอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข 
ผู้เรียนรู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์เพื่อส่วนรวม ซึ่งเป็นการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  คือ การมีจิตสาธารณะ ซึ่งจะช่วยให้สังคมเกิดสันติสุข อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข  โดยมีกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนได้ร่วมกันสร้างความดี เสียสละเวลาทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว มีขอบข่ายครอบคลุมทั้งด้านการศึกษา ด้านการงานและอาชีพ  ด้านชีวิตและสังคม  ในการจัดกิจกรรมจำเป็นต้องจัดกิจกรรมทั้ง 3 ด้านไปพร้อมๆกัน ดังนั้นจึงได้ผสมผสานและบูรณาการเป็นกลุ่มกิจกรรมใหญ่ๆ 4 กลุ่ม  ซึ่งรวมเรียกว่า  มาตรฐานการเรียนรู้กิจกรรม
แนะแนว   มีดังนี้
1.             กิจกรรมรู้จัก เข้าใจ และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
2.             กิจกรรมการแสวงหาและใช้ข้อมูลสารสนเทศ
3.             กิจกรรมการตัดสินใจและแก้ปัญหา
4.             กิจกรรมการปรับตัวและดำรงชีวิต

1.              กิจกรรมรู้จัก เข้าใจ และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนสามารถรู้จัก เข้าใจ และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถรู้จักตนเองและเข้าใจตนเอง ทั้งในด้านความถนัด ความสนใจ ความสามารถ จุดเด่น จุดด้อย นิสัย อารมณ์ ความภูมิใจและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
2.              กิจกรรมการแสวงหาและใช้ข้อมูลสารสนเทศ
มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแสวงหาและใช้ข้อมูลสารสนเทศ  เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะ มีวิธีการแสวงหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ รวบรวมและจัดระเบียบข้อมูล สามารถจัดระบบ กลั่นกรอง เลือกใช้ข้อมูลอย่างฉลาด เหมาะสม และเห็นคุณค่าในการใช้ข้อมูลสารสนเทศ
3.              กิจกรรมการตัดสินใจและแก้ปัญหา
มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถกำหนดเป้าหมาย วางแผน วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินผล  ตลอดจนปรับปรุงแผนการดำเนินงาน โดยใช้ข้อมูล คุณธรรมจริยธรรมเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ
4.              กิจกรรมการปรับตัวและดำรงชีวิต
มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการปรับตัวและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจ ยอมรับตนเองและผู้อื่น  มีวุฒิภาวะทางอารมณ์  แสดงออกอย่างเหมาะสม  มีมนุษยสัมพันธ์  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
คุณภาพผู้เรียน
จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
              ผู้เรียนรู้จักตนเองทั้งในด้านความรู้  ความสามารถ  ความถนัดและนิสัยของตนเรียนรู้ลักษณะนิสัยของตนเองและของเพื่อนๆ มองเห็นทั้งในส่วนที่เหมือนกันและต่างกัน เรียนรู้ลักษณะและวิธีการเผชิญปัญหาของคนที่ตระหนักถึงคุณค่าของตนเองและคนที่มีความรู้สึกด้อยคุณค่าในตนเอง  รู้ถึงวิธีที่หลีกเลี่ยงการกล่าวโทษตนเองว่าด้อยค่า เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์  สามารถจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ  ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตประจำวันได้อย่างสร้างสรรค์   มีพัฒนาการที่ดีทั้งทางด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และด้านสังคม บอกความแตกต่างระหว่างการแก้ปัญหาด้วยเหตุและการแก้ปัญหาด้วยอารมณ์   ศึกษาข้อมูลด้านการศึกษา อาชีพ และวางแผนเพื่อศึกษาต่อ และเตรียมตัวเข้าสู่งานอาชีพ  มีความรู้  ความเข้าใจ  เกี่ยวกับการจัดการศึกษา  และหลักสูตรประเภทวิชาที่นักเรียนสนใจ  สามารถใช้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและหลักสูตร     สถิติจำนวนผู้สมัครสอบและคะแนนที่จะได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ  มาประกอบการพิจารณาเลือกแนวทางการศึกษาและอาชีพของตนในอนาคต  ตลอดจนตรวจสอบความสนใจ ความสามารถและความสอดคล้องกันระหว่างบุคลิกภาพของตน  และลักษณะสำคัญที่มีในงานอาชีพตามทฤษฎีของฮอลแลนด์  วิเคราะห์ผลการทดสอบ และจัดลำดับอาชีพที่ตนสนใจศึกษาต่อในอุดมศึกษา  และตระหนักลักษณะอาชีพที่สอดคล้องกับบุคลิกภาพของตน โดยผ่านกระบวนการจัดกิจกรรมและบริการที่หลากหลายทั้งที่เป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม  ผู้เรียนได้พัฒนาตนเต็มตามศักยภาพ ทำให้เป็นคน เก่ง ดี มีสุข สามารถปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ มีข้อมูลในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อและประกอบอาชีพที่สุจริตตามความสนใจและความถนัด  ผู้เรียนค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตน เสริมสร้างทักษะชีวิต  การศึกษาต่อ การพัฒนาตนเองเพื่อเป็นศาสนทายาทที่ดีและพัฒนาตนเองสู่สังคม  ดำรงชีวิตที่มีคุณธรรมอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข  ฝึกฝนกระบวนการทำงาน  ภาวะผู้นำ การทำงานเป็นกลุ่ม   มีกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ เป็น กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนทุกคนได้ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์เพื่อส่วนรวม ซึ่งเป็นการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  คือ การมีจิตสาธารณะ ซึ่งจะช่วยให้สังคมเกิดสันติสุข อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข  โดยมีกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนได้ร่วมกันสร้างความดี เสียสละเวลาทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม
โรงเรียนจัดกิจกรรมหรือโครงการต่างๆอะไรบ้างที่เป็นการส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียน
           มีการจัดกิจกรรมหลายๆกิจกรรม เช่น พัฒนาคุณภาพผู้เรียนเกี่ยวกับการนำนักเรียนไปแข่งขันทักษะวิชาการ การอ่าน การเขียน และในเดือนมีนาคมนี้จะจัดนิทรรศการโดยมีการมารวมตัวกันที่โรงเรียนบ้านหน้าวัดโพธิ์ โดยจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียนรู้ทุกอย่างและการทัศนศึกษาด้วย และจะมีการจัดบ้านตามการเรียนรู้ เช่นบ้านปลา บ้านขนมไทย บ้านขนมไทย บ้านคาโอเกะ เป็นต้น

นโยบายในการนำหลักสูตรไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน
     การร่วมกันกับคณะผู้บริหาร คณะครูทุกท่านโดยมาร่วมกันวางแผน เพื่อพัฒนานักเรียนให้ไปสู่จุดมุ่งหมายของหลักสูตร จะมีโครงการสนองอยู่และหลักสูตรก็ไม่ได้มีเพียงเท่านี้แต่จะมีตัวโครงการอยู่เพื่อพัฒนาหลักสูตรไปเรื่อยๆทุกสาระหลักสูตรจะพัฒนาขึ้นทุกปี โดยจะวิเคราะห์ว่าหลักสูตรที่ใช้อยู่เป็นอย่างไรและพัฒนาไปสู่นักเรียนให้ตรงตามเป้าหมาย


กระบวนการประเมินผลหลักสูตร
    โดยจะมีแบบประเมินให้แต่ละสาระ ได้ประเมินในวิชาที่ตนสอน ส่วนการประเมินสาระสถานศึกษา คณะครูก็จะประเมินร่วมกัน โดยจะมีแบบของ สปฐ ให้ประเมินว่าเป็นอย่างไรบ้างแล้วก็นำมาปรับปรุงร่วมกัน

ข้อคิดสำหรับนักศึกษาครูเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร
     ปัจจุบันนักศึกษาส่วนใหญ่มักจะยึดติดกับตำราเรียนมากเกินไปซึ่งแท้จริงไม่จำเป็น ต้องศึกษาบริบทของโรงเรียนที่จะไปสอนว่าเป็นอย่างไรเพื่อที่เราจะได้พัฒนาและบูรณาการหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทของสถาศึกษา พร้อมทั้งธรรมเนียมและประเพณีของโรงเรียนนั้น โดยอย่ายึดตำราเรียนเป็นหลักให้ยึดข้อเท็จจริง สิ่งแวดล้อมเป็นหลัก และสิ่งที่เด็กสนใจมาทำหลักสูตรดีกว่า หนังสือเรียนก็ยังจำเป็นอยู่ เพราะหลักภาษาและเนื้อหาต่างๆ ให้นักเรียนอ่านสะกดคำเราก็ยังต้องใช้หนังสืออยู่ ดังนั้นเราก็สามารถที่จะเริมเข้าไปได้ อย่าบอกว่าเราสอนไม่ทันหนังสือ แต่เราต้องสอนให้ทันหลักสูตรครูพันธุ์ใหม่จะต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพ มีจรรยาบรรณของความเป็นครู